วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

KM

         การจัดการความรู้ (KM) ของ  นพ.วิจารณ์ พานิช (อ้างใน p://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km1)
กล่าวว่า ความรู้ มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์
พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

        สำหรับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่กล่าวถึงในที่นี้

ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์การต่างๆ ที่ใช้ ได้ให้นิยามของ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยทั่วไป ไว้ ดังนี้ 

Ryoko Toyama 1 การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ

World Bank 2 เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ

EFQM 3 เป็นวิธีการจัดการความรู้ เป็นกลยุทธ์ และกระบวนการในการจำแนก จัดหา และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

       ศาสตราจารย์ น.พ.วิจารณ์ พานิช 4 เครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่งาน

       สำนักงาน ก.พ.ร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมวิชาการเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 ได้ให้ความหมายของ KM ไว้ว่า “เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด”

               อ้างเอกสารการประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกรนด์ เดอร์วิลล์ กรุงทพมาหานคร
               ดัดแปลง จาก การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การจัดการศึกษา (Educational Region Knowledge Management : ERKM)   ของชัด บุญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น